KKC.LRU.Website

เว็บใหม่ของพวกเรา ชาว Elec-Comp ขอนแก่น ..ใช้งานสะดวกมากขึ้น www.kkc.electronic.intech.lru.ac.th


วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

วิชาสังคมโลก


(ตอบแค่ระบายสีแดงไว้ ก็น่าจะได้ 1 หน้า กับอีกครึ่ง แล้ว)

ต่อคำถามที่ว่า รัฐบาล  มีนโยบายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างไร
แนวทางการตอบปัญหาข้อนี้
ยาเสพติดถือเป็น "ภัยคุกคามที่กัดกร่อน บ่อนทำลายประเทศชาติ" ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งต่อปัจเจกบุคคล สังคมส่วนรวม และการพัฒนาประเทศ ทำให้สูญเสียทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเป็นกำลังสำคัญของประเทศ      อีกทั้งการแพร่ระบาดของยาเสพติดก่อให้เกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติภูมิของประเทศ ไม่เป็นที่ไว้วางใจของนานาชาติในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ทำให้ไม่กล้าเข้ามาท่องเที่ยวหรือลงทุนทางการค้าและธุรกิจต่าง ๆ  
           ที่ผ่านมาการปราบปรามหรือเพิ่มโทษไม่ได้ทำให้ปัญหายาเสพติดหมดไป เพราะจากการสำรวจจำนวนผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทยกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี 2546 มีผู้เสพประมาณ 460,000 คน ในปี 2550 มีผู้เสพ 570,000 คน และปี 2551 เพิ่มขึ้นเป็น 605,000 คน นั่นแสดงว่าการปราบปรามอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอื่นมาสนับสนุนด้วย
           การดึงพลังของทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันทำงานแบบครบวงจรเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหา รัฐบาล(นายยกฯอภิสิทธิ์) จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์แผนปฏิบัติการในเรื่องของยาเสพติดภายใต้ชื่อ "ยุทธศาสตร์ 5 รั้ว ป้องกัน" เพื่อป้องกันจุดอ่อน 5 ด้าน ทั้งด้านชายแดน ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสังคม ด้านความอ่อนแอของครอบครัว-ชุมชน และด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ-สังคม สภาพแวดล้อม
ความหมายของ ยาเสพติด และยุทธศาสตร์
ยาเสพติด  
หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าโดยจะกิน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้ว จะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการอยากยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง สุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง
ยุทธศาสตร์ หรือ กลยุทธ์ ( strategy)  
หมายถึง การวางแผนงานสู่การปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย ภายใต้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม หรือการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ SWOT Analysis กล่าวคือ การวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม (อุปสรรค) ในกรอบระยะเวลาที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อประกอบการวางแผนการในการใช้วิธีการ และทรัพยากร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด
ความหมายที่ง่ายที่สุดของคำว่า ยุทธศาสตร์ ก็คือแผนการปฏิบัติที่รวบรวมความพยายามทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในยุคปัจจุบันนี้ จะเป็นการเที่ยงตรงมากกว่า หากพิจารณาว่า Strategy คือขบวนการตัดสินใจอันซับซ้อนซึ่งเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายสุดท้าย (Ends) เข้ากับ วิถี หรือ หนทาง (Ways) และวิธีการ หรือเครื่องมือ (Means) ในอันที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น

ตามที่ รัฐบาลได้ประกาศนโยบายแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน เป็นยุทธศาสตร์หลักในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นการบูรณาการการทำงานในทุกระดับ ถึงแม้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง จนสามารถมีผลดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้สูงขึ้นมากกว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา แต่ด้วยข้อจำกัดและเหตุปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องหลายประการ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองความมั่นคง มีส่วนให้ปัญหายาเสพติดขยายตัวมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวม ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 ให้ความเห็นชอบในหลักการของปฏิบัติการ ประเทศไทยเข้มแข็งชนะยาเสพติดยั่งยืน ระยะที่ 3 ภายใต้ยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกัน เพื่อเป็นทิศทางหลักของการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศ ในปี 2554 นั้น
               "รั้ว" ในที่นี้หมายถึง การสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างกิจกรรม สร้างกระบวนการทำงานทั้งภาครัฐและประชาชนได้ดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่ รั้วชายแดน รั้วชุมชน รั้วสังคม รั้วโรงเรียน และรั้วครอบครัว
 รั้วแรก คือ "รั้วชายแดน"
ยาเสพติดส่วนใหญ่มาจากแหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้านและลักลอบนำเข้าประเทศไทย ภารกิจนี้มีกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นเจ้าภาพหลัก ให้กองกำลังป้องกันชายแดนเป็นผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่จัดกำลังปฏิบัติการลาดตระเวน สกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน จัดตั้งอาสาสมัครประชาชนในหมู่บ้านชายแดนเพื่อเป็นกำลังเฝ้าระวัง รวมถึงปฏิบัติการสกัดกั้นยาเสพติดในเชิงรุกด้วยการดำเนินมาตรการทางการข่าว การร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งด้านการข่าว การปราบปรามสกัดกั้น และการลาดตระเวนร่วมกัน

 รั้วสอง คือ "รั้วชุมชน"
          จากความอ่อนแอของชุมชน ความไม่มีภูมิคุ้มกันของชุมชนทำให้ปัญหายาเสพติดเข้ามาแพร่ระบาดได้ง่าย รัฐบาลจึงประกาศชัดเจนที่จะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ เสริมบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชนในการเฝ้าระวังรวมทั้งการสำรวจตรวจสอบพฤติการณ์ทั้งค้าและเสพด้วยกระบวนการประชาคม เพื่อคัดกรองปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านและชุมชนขั้นต้นรวมถึงมาตรการทางด้านกฎหมาย เพื่อลดทอนโครงสร้างทางการค้าในพื้นที่ รวมถึงการจับกุมและส่งผู้เสพเข้าสู่กระบวนการบำบัด

รั้วสาม คือ "รั้วสังคม"
          มุ่งเน้นไปที่เด็กและเยาวชน ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่าปัจจัยลบในสังคม ทั้งสถานบันเทิงที่ผิดกฎหมาย หอพักที่ไม่ได้จดทะเบียน โต๊ะสนุ๊ก โต๊ะพนันบอล ตู้ม้า ร้านเกมส์ อินเทอร์เน็ต แหล่งมั่วสุมต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ภารกิจนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการโดยผู้ว่าราชการจังหวัด/ผอ.รมน.จว.ดำเนินการขยายพื้นที่และกิจกรรมทางบวกให้มากขึ้น อาทิ ลานกีฬา ลานดนตรี ลานกิจกรรมสร้างสรรค์ของเยาวชน รวมถึงการสร้างแกนนำกลุ่มต่าง ๆ ในจังหวัด ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการจัดระเบียบสังคม อาทิ แกนนำครูอาสา แกนนำผู้ปกครอง แกนนำเยาวชน แกนนำชุมชน ฯลฯ

รั้วสี่ คือ "รั้วโรงเรียน"
           ปกติแล้วเยาวชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องอื่น ๆ ตามมา เช่น หนีเรียน มั่วสุม เสพยาเสพติด ก้าวร้าว สูบบุหรี่ ดื่มของมึนเมา ดังนั้นมาตรการแก้ไขปัญหาของเยาวชนจึงต้องมุ่งเน้นไปที่สถานศึกษาทุกระดับ ภารกิจนี้มีกระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพหลักในการสำรวจและจัดทำข้อมูลค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้า และเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยมอบหมายให้ครูทำหน้าที่เสมือนกลไกปลูกฝังและสอดส่องพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน ด้วยการจัดกิจกรรมในสถานศึกษา อาทิ การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาเฉพาะ ค่ายพัฒนาคุณธรรมกิจกรรมทางเลือกตามความสนใจของเยาวชนทั้งดนตรี กีฬา ศิลปะและการพัฒนาอาชีพ นอกจากนี้ยังผลักดันให้มีการจัดตั้งเครือข่ายผู้ปกครองในโรงเรียนและชุมชนด้วย

 รั้วสุดท้าย "รั้วครอบครัว"
           ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะป้องกันยาเสพติด เพราะเมื่อใดครอบครัวเข้มแข็งก็จะส่งผลต่อพื้นฐานของความเข้มแข็งของประเทศด้วย โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครอง ญาติพี่น้อง เกี่ยวกับความรู้ในการป้องกันยาเสพติด โดยจะมุ่งเน้นไปที่ครอบครัวที่มีบุคคล เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งที่ถูกจับกุมหรือที่บำบัดรักษา เป็นเป้าหมายแรก

          นอกเหนือจากยุทธศาสตร์ 5 รั้วป้องกันแล้ว ยังมีการใช้มาตรการทางกฎหมายสืบสวน ปราบปรามกลุ่มการค้ายาเสพติดระดับต่าง ๆ เพื่อตัดโครงสร้างการกระจายยาเสพติดไปยังผู้เสพ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และการเร่งรัดโครงการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดแบบบูรณาการ นำผู้เสพเข้าสู่ระบบบำบัดฟื้นฟูของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงการใช้กระบวนการชุมชน ประชาสังคมเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เช่น กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน ในการจัดทำค่ายบำบัดฟื้นฟู และโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองให้ความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตภายหลังผ่านการบำบัดฟื้นฟู เช่น การให้อาชีพ สนับสนุนเงินทุนประกอบอาชีพ ตลอดจนการจัดกลไกติดตามผู้ผ่านการบำบัดให้สามารถกลับสู่สังคมได้ตามปกติ
         26 มิถุนายน ของทุกปี เป็น "วันต่อต้านยาเสพติดโลก" ควรถือเป็นโอกาสสำคัญเริ่มต้นการ "สร้างรั้วทั้ง 5 ของชาติไทยให้แข็งแกร่ง" ด้วยจิตสำนึกและพลังความร่วมมือจากประชาชนในทุกภาคส่วน

ปัจจุบัน
                รัฐบาล (นายกฯยิ่งลักษณ์  ชินวัตร) ได้นำเอาปัญหายาเสพติดมาจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ  โดย
   เมื่อวันที่  11 ก.ย.54  ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดปฏิบัติการวาระแห่งชาติ พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดโดยกล่าวว่า “ปัญหายาเสพติดไม่ใช่ปัญหาของคนใดคนหนึ่งแต่เป็นปัญหาของคนไทยทั้งประเทศ โดยระบุว่าให้รัฐบาลแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วน เพราะยาเสพติดในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเร็ว เห็นได้จากตัวเลขในปี 2550 มีผู้เสพ 490,000 ราย แต่กลับเพิ่มขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี ซึ่งพื้นที่เป้าหมายมี 6 หมื่นกว่าหมู่บ้าน จาก 8 หมื่นกว่าหมู่บ้าน ดังนั้น เราต้องคืนลูกหลานสี่แสนกว่ารายให้กลับมาเป็นคนดีของสังคม ตนเป็นแม่และเห็นข่าวยาบ้าที่ขายกันทั่วตลาด วันนี้ดีใจที่พ่อแม่บางคนได้ลูกกลับคืนมา เราต้องรวมพลังนำคนป่วยกลับคืนเป็นคนดี
              น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ปัญหานี้รัฐบาลถือว่าเป็นวาระแห่งชาติ และสนองพระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 12 ส.ค. ที่ทรงชี้ให้เห็นถึงภัยอันตรายของปัญหานี้ รัฐบาลและทุกภาคส่วนได้น้อมนำมาปฏิบัติ และข้อห่วงใยของพระองค์ท่านนั้น รัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายและวาระแห่งชาติ ภายใต้ปฏิบัติการวาระแห่งชาติ พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด โดยต้องลดให้ได้ภายใน 1 ปี โดยทุกฝ่ายต้องทำงานแบบบูรณาการเป็นระบบ และจะต้องลดความรุนเเรงให้ได้ 80 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยที่เคยทำมาสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร 6 ประการ คือ
1.ยึดพื้นที่เป็นฐาน เพื่อแบ่งพื้นที่ดูแลสอดส่อง
2.มอบบทบาทความรับผิดชอบร่วม
3.เชื่อมระบบข้อมูลผู้ค้าและกลุ่มเสี่ยงจากอำเภอและจังหวัดมายังส่วนกลาง
4.แยกกลุ่มผู้เสพที่บำบัดได้ 300,000 ราย
5.กำหนดกลไกการทำงานของศูนย์อำนวยการที่สั่งการไปยังภูมิภาค
6.มีเจ้าภาพที่ชัดเจน      

ฉะนั้นรัฐบาล  มีแผนปฏิบัติการครั้งนี้โดยมี 6 ประการ คือ
1.เสริมสร้างพลังแผ่นดินฯ เน้นชุมชนและหมู่บ้านที่ต้องนำพลังจากทุกภาคส่วนและน้อมนำพระราชเสาวนีย์ฯ เป็นหลักปฏิบัติมาประมวล พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังทั่วประเทศ เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขยายกองทุนแม่แห่งแผ่นดิน
2.การแก้ปัญหาผู้เสพ หลักสำคัญ คือต้องถือว่าผู้เสพคือคนไข้ที่ป่วย รัฐบาลต้องการเห็น 400,000 คนกลับคืนเป็นคนดีของสังคม โดยแบ่งการบำบัดเป็น 3 ระดับ คือ ผู้ป่วยหนัก ปานกลาง และเล็กน้อย โดยผู้ป่วยหนักและปานกลางต้องร่วมมือกับโรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ของกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุขต้องบำบัดรักษา ส่วนผู้ป่วยเล็กน้อยนั้นจะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมบูรณการให้หายขาดและฟื้นฟู ตนอยากเห็นขั้นตอนนี้ที่ต้องให้ความรู้ของยาเสพติดและสร้างอาชีพใหม่ให้มีงานทำ
3.การป้องกันพื้นที่กลุ่มเสี่ยง โดยจะมองพื้นที่จาก 8 หมื่นกว่าชุมชนให้เหลือ 6 หมื่นชุมชน โดยจัดพื้นที่ว่างเปล่าในพื้นที่กลุ่มเสี่ยงมีลานกิจกรมและกีฬาทดแทนไม่ให้กลุ่มเสี่ยงไปค้ายาเสพติด
4.การปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดและผู้ทรงอิทธิพลที่ยึดหลักนิติธรรม มาตรการทางกฎหมายต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม จริงจังเข้มงวด ตนขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการขั้นตอนที่ยากลำบาก
5.ส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศและชายแดนในการป้องกัน ป้องปรามขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติและนำสารตั้งต้นเข้ามาในประเทศ การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องไม่พัวพันกับยาเสพติดเด็ดขาด และขอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาและใช้มาตรการทางปกครองวางไว้เป็นภาพรวม และพยายามกำจัดปริมาณการค้ายาเสพติดข้ามชาติจากทุกแหล่ง
6.ดึงผู้ป่วย 4 แสนกว่ารายมารักษา ตรงนี้จะเป็นการลดปริมาณการค้าขายยาเสพติดจะทำให้ทำงานง่ายและเป็นระบบ
                จะเห็นได้ว่าปัญหายาเสพติดนั้น เป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศ  การปราบปรามกระทำได้ยาก หากไม่มีการปฏิบัติอย่างเข้มขวด   ดังนั้นการเอาชนะปัญหายาเสพติดควรที่จะต้องได้รับการร่วมมือรวมใจจากคนไทยทุกภาคส่วน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันครอบครัว  ต้องให้การดูแลบุตรหลานอย่างอบอุ่น     


  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น